วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)

.....การศึกษาพยายามที่จะช่วยเหลือคนในการปรับตัวได้อย่างดีที่สุดส่วนจิตวิทยาเป็นศาสตร์ คำนึงเกี่ยวกับการปรับตัวของคนดังนั้นจิตวิทยาการศึกษาจะเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวของคนไปปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวดังนั้นหน้าที่สำคัญประการแรกคือการจัดการ เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น

.....Horace B. English and Ava C. English ซึ่งได้กล่าวถึง ความหมายของจิตวิทยาว่า จิตวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ
..... - พฤติกรรม (Behavior)
..... - การกระทำ (Acts)
..... - กระบวนการคิด (Mental process)
.....ไปพร้อมกับการศึกษาเรื่อง สติปัญญา, ความคิด , ความเข้าใจ การใช้เหตุผล การเข้าใจตนเอง (Selfconcept)ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลด้วยจิตวิทยาการศึกษา ซึ้งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษา ให้เข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการ จึงครอบคลุมผู้เรียน ผู้สอน และสิ่งแวดล้อมขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษาจึงมีในเรื่องต่อไปนี้
.....1. ศึกษาเรื่องประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา แนวคิดของนักจิตวิทยา ที่มีผลต่อการเรียนรู้
.....2. ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นเรื่อง ความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่อง สติปัญญา ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ และแรงจูงใจ เป็นต้น
.....3. การเรียนรู้ โดยเน้นศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้ องค์ประกอบของการเรียนรู้ การแก้ปัญหาโดยอาศัยหลักการเรียนรู้ การถ่ายโยง ตลอดจนการจัดสภาพการเรียนรู้ต่าง ๆ
.....4. การประยุกต์เทคนิคและวิธีการเรียนรู้ โดยผู้สอนเน้นให้ ผู้เรียนสามารถนำ เทคนิคและวิธีการไปใช้ในการเรียนการสอนการแก้ปัญหาในการพัฒนาตน
.....5. การปรับพฤติกรรม โดยเน้นการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา ไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา โดยใช้หลักการเรียนรู้ เป็นต้น
.....6. เทคนิคและวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาจิตวิทยา เช่น การสังเกต การสำรวจ การทดลอง และศึกษาเป็นรายกรณี

วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา Good win and Klausmeier ได้กล่าวอยู่ 2ประการ คือ
.....1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
.....2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ

จิตวิทยาการศึกษามีขอบข่ายกว้างขวาง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่น ดังนี้
.....1. จิตวิทยา (Psychology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และสัตว์ การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาในปัจจุบันใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน
.....2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการความสนใจของคนในวัยต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็น จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น จิตวิทยาผู้ใหญ่
.....3. จิตวิทยาสังคม (SocialPsychology)เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม จิตวิทยาสังคมเกี่ยวพันถึงวิชาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมวิทยา(Sociology)และมนุษยวิทยารวมทั้งเกี่ยวพันถึงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมากเป็นต้นว่าการเมืองศาสนาเศรษฐศาสตร์สุขภาพจิต
.....4. จิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology) เป็นการศึกษาถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคจิต และโรคประสาท ความผิดปกติอันเนื่องจาก ความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น
.....5.จิตวิทยาประยุกต์ (AppliedPsychology)เป็นการนำความรู้และกฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาแขนงต่างๆมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์หรือนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น นำไปใช้ในการรักษาพยาบาล การให้คำปรึกษาหารือในวงการอุตสาหกรรม การควบคุมผู้ประพฤติผิด เป็นต้น
.....6. จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of learning) เป็นการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การจำ การลืม รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
.....7.จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality) เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัว ของบุคคลที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น ทั้งในด้านแนวคิด ทัศนคติ การปรับตัวและการแก้ปัญหา

ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษามีดังต่อไปนี้
.....1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม
.....2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
.....3. ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียน การสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้
.....4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ
.....5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
.....6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
.....7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง
.....8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข

...แหล่งที่มาของข้อมูล http://centered.pi.ac.th/elearning/lampang/mui/t5.htm/.....

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย :
.....การเรียน การสอน และการวิจัย โดย รศ.ดร. ชูชัย สมิทธิไกร ภาคจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จิตวิทยาองค์การ (organizational psychology)
.....ป็นศาสตร์ที่ศึกษาทางจิตวิทยาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในการนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรทุกระดับในบริบทของการทำงาน ซึ่งยังผลให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทย
.....ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันที่จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพและผลิตภาพ

อาชีพของนักจิตวิทยาองค์การ
.....1. เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาองค์การ
.....2. ทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
.....3. เป็นที่ปรึกษาการบริหารองค์การ
.....4. เป็นนักฝึกอบรมด้านทรัพยากรมนุษย์ และพฤติกรรมศาสตร์
.....5. ทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาองค์การ เช่น นักการตลาด นักออกแบบและการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักบริหารในองค์การต่าง ๆ

จบแล้วทำงานอะไร?
.....1. ผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์หรือผู้บริหารทั่วไป
.....2. ที่ปรึกษาองค์การทางจิตวิทยาองค์การ
.....3. ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน
.....4. นักวิจัยทางจิตวิทยาองค์การ

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (industrial and organizational psychology)
.....คือศาสตร์ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ (Muchinsky, 1993) และประยุกต์ใช้ข้อเท็จจริงและหลักการทางจิตวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของมนุษย์ภายในองค์การ (Blum & Naylor, 1968) จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเป็นจิตวิทยาสาขาหนึ่งซึ่งมีอดีตอันสั้น แต่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน(a short past but a long history) ในสหรัฐอเมริกา จุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเกิดขึ้นในราวต้นศตวรรษที่ 20 เพราะฉะนั้นจนถึงบัดนี้ก็นับเป็นเวลาร่วมหนึ่งร้อยปีแล้ว แต่หากสืบย้อนกลับไปในอดีต ก็จะพบว่าแท้ที่จริงแล้วการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร (โดยเฉพาะผู้ที่เหมาะสมจะเป็นทหาร) ด้วยการทดสอบสมรรถภาพทางกายได้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยคริสตกาลแล้ว (Stagner, 1982)

.....สำหรับประเทศไทย จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การยิ่งมีอดีตที่สั้นมาก (แม้ว่าอาจจะมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานก็ตาม) การเรียนการสอนในสาขานี้ อาจจะกล่าได้ว่าเพิ่งกำเนิดขึ้นมาไม่เกิน 30 ปีที่แล้วมา ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานแรกที่ได้เริ่มผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยา อุตสาหกรรมเมื่อปี พ.ศ.2509 โดยในระยะเริ่มต้นได้ใช้ชื่อว่าจิตวิทยาบริการ (service psychology) เมื่อเวลาผ่านไปเกือบสามสิบปี

.....วิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การก็ได้เติบโตแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันนี้ มีสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือจิตวิทยาองค์การในระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 4 แห่ง และมีสถาบันที่ผลิตมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง (ธรรมศาสตร์,เกษตรศาสตร์ และเชียงใหม่) หากจะนับอย่างคร่าวๆ ประเทศไทยมีบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาตรีและโท สาขานี้ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน (เฉพาะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แห่งเดียว มีประมาณ 500 คน)อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีการเรียนการสอนและการวิจัยทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การมานานหลายสิบปี และมีบัณฑิตสาขานี้ในจำนวนไม่น้อย แต่ก็ยังคงมีปัญหาท้าทายที่รอคำตอบอยู่อีกหลายประการ กล่าวคือ

ประการแรก
.....อาจจะกล่าวได้ว่าผู้คนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมยังไม่รู้จักและไม่เข้าใจว่าจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? ประโยคแรกที่บุคคลในวงการเหล่านี้มักจะถามก็คือ “อ๋อ ทำงานเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรมหรือ?”

ประการที่สอง
.....บัณฑิตรวมทั้งอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชานี้ มีความสำนึกมากน้อยเพียงไรว่า ตนเองคือ ผู้มีวิชาชีพด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เหมือนดังผู้ที่เรียนจบและทำงานด้านจิตวิทยา คลินิก หรือจิตวิทยาการให้คำปรึกษา ในทัศนะของผู้เขียนคงจะมีบัณฑิตและอาจารย์น้อยคนมากที่จะพูดว่าตนเองคือนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ สาเหตุของปัญหานี้จะได้กล่าวถึงต่อไปในตอนหน้าและ ประการสุดท้าย อนาคตของวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในบริบทของสังคมไทยควรจะเป็นเช่นไร ทั้งในด้านการเรียน การสอน การวิจัย และการประกอบอาชีพ ปัญหาประการสุดท้ายนี้ นับว่าเป็นปัญหาที่น่าสนใจควรแก่การอภิปรายและหาข้อสรุปมากที่สุด เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงถึงความก้าวหน้าและความตกต่ำของสาขาวิชาโดยตรง อีกทั้งยังเกี่ยวโยงถึ

บทความนี้จึงมีจุดประสงค์สำคัญสองประการคือ

ประการแรก
.....มุ่งเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย

ประการที่สอง
.....เพื่อ “จุดประกาย” ให้มีการอภิปรายถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการและอาจารย์ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้แก่วงการจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การของไทย สำหรับการนำเสนอสาระ ในส่วนแรกบทความนี้จะกล่าวถึงเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และในส่วนที่สองจะกล่าวถึงการเรียน การสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย

เป้าหมายของการผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
.....การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียน การสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจะไม่มีความสมบูรณ์และได้ทิศทาง หากขาดการทบทวนและพิจารณาเกี่ยวกับเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตในสาขานี้เพราะเป้าหมายคือสิ่งที่มุ่งหวังจะให้ปรากฏเป็นจริงในอนาคตหรือผลลัพธ์ (end results) ส่วนการเรียน การสอน และการวิจัยคือ วิธีการ (means) ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ปรารถนานั้นโดยทั่วไปแล้ว ปรัชญาและเป้าหมายการผลิตบัณฑิตของสถาบันการศึกษาต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา มักจะอยู่ในทำนองที่ว่า “เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม” ซึ่งหมายถึงว่า บัณฑิตเหล่านั้นควรจะมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิก

ลักษณะที่ดีและเหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว
.....ปัญหาก็คือ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะเหล่านั้นคืออะไร? มีลักษณะอย่างไร? และจะเสริมสร้างพัฒนาได้อย่างไร? สำหรับความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะที่พึงประสงค์ ของบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ สามารถกำหนดได้โดยการพิจารณาจากปัจจัยสองประการดังต่อไปนี้คือ ประการแรก งานและภาระหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในฐานะนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และ ประการที่สอง ความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสังคมไทยในอนาคต ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดดังต่อไปนี้

งานและภาระหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
.....ในสหรัฐอเมริกา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆ รวมทั้งนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่างๆ และสาธารณชน ในฐานะที่เป็นนักวิชาชีพ (professional) ที่มีบทบาทสำคัญต่อสังคมในทุกๆ ด้านในองค์การธุรกิจหรือหน่วยงานของรัฐจะมีตำแหน่งงานนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กาโดยเฉพาะ ทั้งนี้อันเนื่องมาจากกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการจ้างงานของสหรัฐอเมริกา (เช่น the 1964 Civil Right Act, Title VII และฉบับแก้ไขปรับปรุงปี 1991) ได้ห้ามมิให้นายจ้างกีดกันผู้สมัครงาน/ผู้ทำงาน โดยการปฏิเสธการจ้างงานหรือการเลื่อนตำแหน่งอันเนื่องมาจากสีผิว เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ฯลฯ ดังนั้น นายจ้างจึงมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ (burden of proof) ความเหมาะสมของเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินบุคคล ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่นี้ได้ก็คือ นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การนอกจากนี้แล้ว นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ยังได้รับความยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเหมาะสมที่จะทำงานด้านอื่นๆ อีกหลายด้านให้แก่องค์การ

.....ซึ่งอาจสรุปงานและภาระหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การได้ดังต่อไปนี้ (Division of Industrial and Organizational Psychology, 1988)

.....1. การคัดเลือกและการจัดวางบุคลากร (personnel selection and placement)
..........1.1 การพัฒนาโครงการสำหรับการคัดเลือกบุคลากร
..........1.2 การจัดวางบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานต่างๆ อย่างเหมาะสมที่สุด
..........1.3 การสำรวจระบุศักยภาพเชิงการจัดการของบุคลากร

.....2. การพัฒนาองค์การ (organizational development)
.........2.1 การวิเคราะห์โครงสร้างองค์การ
.........2.2 การเพิ่มระดับความพึงพอใจและประสิทธิภาพของบุคคลและหน่วยการทำงานให้ถึงระดับสูงสุด
.........2.3 การช่วยเหลือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงองค์การ

.....3. การฝึกอบรมและการพัฒนา (training and development)
..........3.1 การระบุความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรมและการพัฒนา
..........3.2 การพัฒนาและการจัดโครงการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคนิค ด้านการจัดการและด้านการบังคับบัญชา
..........3.3 การประเมินผลประสิทธิภาพของโครงการฝึกอบรมและพัฒนา โดยใช้เกณฑ์ด้านผลิตภาพ (productivity) และความพึงพอใจ

.....4. การวิจัยด้านบุคลากร (personnel research)
..........4.1 การพัฒนาเครื่องมือทดสอบสำหรับการคัดเลือก การจัดวาง การจำแนก และการเลื่อนตำแหน่งของบุคลากร
..........4.2 การทดสอบความตรงของเครื่องมือต่างๆ
..........4.3 การวิเคราะห์งาน

ที่มาของข้อมูล  http://www.pantown.com/board.php?id=10895&name=board2&topic=2&action=view